สำหรับฤดูฝนที่ผ่านมานั้น เจ้าของบ้านท่านใดที่ได้เผชิญกับปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึม จนน้ำหยดไหลเข้าบ้าน คงจะเป็นเรื่องที่น่าหนักใจมิใช่น้อย แม้กระทั่งการหาตำแหน่งต้นตอของการรั่วซึมเพื่อลงมือแก้ไข บางทีก็ไม่ง่ายเสมอไป เพราะน้ำที่รั่วเข้าทางหลังคาบ้านอาจไหลไปตามโครงสร้างแล้วหยดลงฝ้าเพดานในตำแหน่งที่ไกลออกไป หรือแม้กระทั่งไหลไปหยดลงเพื่อนบ้าน (ทาวน์โฮม)ที่อยู่ติดกัน ก็มี

หนทางที่จะช่วยในการหลีกเลี่ยงปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึมนั้น ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจถึง “ความเสี่ยงต่อการรั่วซึมของหลังคาบ้าน”  เพื่อที่จะทำการป้องกันหรือแก้ไขได้ถูกจุดก่อนที่จะถึงฤดูฝนถัดไป  ซึ่งมีทั้ง “จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาบ้าน” และ “จุดเสี่ยงบนผืนหลังคาบ้าน” โดยจะขอเริ่มต้นที่จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาบ้านก่อน สำหรับหลังคาบ้านที่มีความสลับซับซ้อนมากจะมีรอยต่อมาก ย่อมเสี่ยงที่จะรั่วซึมได้มาก โดยมักเกิดขึ้นในบริเวณดังต่อไปนี้

บริเวณครอบสันหลังคาและตะเข้สัน 
เป็นแนวรอยต่อระหว่างผืนหลังคา 2 ผืน ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ครอบ” เป็นตัวปิดรอยต่อ บริเวณนี้อาจเกิดการร้าวรั่วซึมได้ด้วยสาเหตุต่างๆ หากเป็นระบบครอบเปียกที่ใช้ปูนปั้นยึดครอบกับกระเบื้องอาจมีการเสื่อมสภาพของปูนยึดครอบ หรือเกิดปัญหาที่ตัวครอบเอง รวมถึงวิธีติดตั้งที่ผิด เช่น วางแปคู่สันห่างเกินไป มุงครอบเผยอ ใส่ปูนทรายล้นหัวกระเบื้อง เป็นต้น

วิธีแก้ไข ในส่วนของปูนยึดครอบที่เป็นปัญหา ควรรื้อปูนที่พอกออก แล้วติดตั้งครอบใหม่ให้ถูกวิธี  หากแปคู่สันห่างเกินไป ให้รื้อออกแล้ววางใหม่ด้วยเช่นกัน กรณีครอบเผยอ ให้รื้อทำใหม่โดยเจียรแต่งปลายครอบให้เรียบร้อย ทั้งนี้หากตรวจเช็คดูแล้วพบว่าตัวครอบหลังคาเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ไปเลย และสำหรับผู้ที่กำลังสร้างบ้านใหม่ ควรใส่ใจเรื่องการติดตั้งครอบให้ถูกวิธีตั้งแต่ต้น เพื่อลดปัญหาในระยะยาว และจะให้ดีควรใช้ชุดอุปกรณ์ป้องกันรั่วซึมที่ผลิตมาเพื่อกระเบื้องหลังคาบ้านแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ เช่น ระบบครอบแบบแห้ง (Drytech System) เป็นต้น หากจะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาระยะยาว อาจเปลี่ยนจากปีก ค.ส.ล. มาเป็นใช้แผ่นปิดรอยต่อปิดเชื่อมระหว่างกระเบื้องหลังคากับผนัง จากนั้นติดตั้ง Flashing สเตนเลส เหนือแผ่นปิดรอยต่อ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการรั่วซึมได้มาก โดยเฉพาะกรณีปูนปั้นรั่วซึมควรรื้อออกและติดตั้งด้วยวิธีนี้แทน นอกจากนี้ หากต้องการความสวยงาม สามารถเลือกใช้ ชุดระบบครอบผนัง (มีเฉพาะสำหรับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นเท่านั้น) ประกอบด้วย แผ่นปิดรอยต่อ และ Flashing สเตนเลสแบบสั้น พร้อมครอบผนังเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม

นอกจากบริเวณรอยต่อ ตรงครอบสันหลังคา และ รอยต่อตรงตะเข้สัน  กับ บริเวณแนวรอยต่อหลังคาบ้านกระเบื้องชนผนังดังที่กล่าวไปแล้ว ยังมีจุดเสี่ยงอื่นๆ  (ซึ่งควรป้องกันไว้โดยใช้แผ่นปิดรอยต่อ) ดังภาพด้านล่าง

ทั้งนี้ ยังมีอีกส่วนที่ไม่ควรมองข้ามนั่นคือช่วงรอยต่อบริเวณตะเข้ราง และช่วงรอยต่อบริเวณรางน้ำเชิงชาย ซึ่งนอกจากจะต้องติดตั้งให้ได้มาตรฐานตามคู่มือแล้ว ข้อสำคัญคือ จะต้องเลือกรางน้ำที่มีขนาดเหมาะสม ไม่แคบเล็กจนเกินไปและมีรูปทรงที่ระบายน้ำได้ง่าย เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นรางไหลย้อนเข้าไปในช่วงรอยต่อใต้กระเบื้องหลังคา จนไหลย้อนเข้าไปในบ้านได้  ทั้งนี้ควรนำเศษใบไม้กิ่งไม้ออกจากรางน้ำเพื่อป้องกันการอุดตัน หรืออาจเลือกใช้รางน้ำแบบที่มีตะแกรงกันใบไม้เพื่อความสะดวก

บริเวณแนวรอยต่อกระเบื้องหลังคาชนผนัง 
แนวรอยต่อที่กระเบื้องหลังคาชนกับผนังนั้น จะต้องมีวัสดุครอบปิดไว้เช่นกัน บางบ้านใช้ปูนปั้นเป็นตัวยึดปิดรอยต่อซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึมมากที่สุด ( เนื่องจากปูนเป็นวัสดุที่ดูดน้ำ จึงเกิดการแตกร้าวรั่วซึมได้ง่ายมาก) ส่วนกรณีที่พบเห็นได้บ่อยคือ การทำปีก ค.ส.ล. คลุมรอยต่อดังกล่าว ซึ่งหากเนื้อคอนกรีตเกิดการเสื่อมสภาพ หรือติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้ เช่น  เสียบเหล็กยึดผิดวิธี ขนาดของปีก ค.ส.ล. สั้นกว่ามาตรฐาน ติดตั้งสูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งมักต้องแก้ไขโดยการทุบทิ้งทำใหม่ (ยกเว้นกรณีติดตั้งสูงไปอาจมีการเสริมความหนาได้) นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาที่ตัวกระเบื้องหลังคาใต้ปีก ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาแตก ติดตั้งกระเบื้องหลังคาห่างผนัง หรือ ลอนกระเบื้องที่ชนผนังไม่ใช่ลอนยก กรณีเหล่านี้จะต้องรื้อกระเบื้องหลังคาออกแล้วมุงใหม่ให้ถูกต้อง

Cr. SCG

12 วิธีดูแลรักษาบ้านที่คนรักบ้านต้องอ่าน !!! ประหยัดงบบ้านใหม่ ซื้ออย่างไรไม่ให้บานปลาย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *